บทสวดมนต์ก่อนนอน สวดแล้วชีวิตดีขึ้น แบบสั้นๆ เสริมดวงดี ร่ำรวย

 

การสวดมนต์ก่อนนอนเป็นวิธีสงบจิตใจให้เข้าสู่ห้วงนิทราราตรีได้ดีที่สุด หากคุณมีปัญหานอนไม่หลับ คิดไม่ตก การสวดมนต์จะช่วยลดความกังวลต่างๆ ได้ แต่โดยเนื้อแท้ของพระธรรมจะต้องพิจารณาพาจิตใจให้เข้าถึงความหมายของบทสวดมนต์ด้วย วันนี้ไทยรัฐออนไลน์ รวบรวมบทสวดมนต์ก่อนนอนยอดนิยมมาฝากกัน

มาเตรียมพร้อมพนมมือและกล่าวไปพร้อมๆ กัน


บทสวดมนต์ก่อนนอนสั้นๆ แบบที่ 1

บูชาพระรัตนตรัย + แผ่เมตตา


- ตั้งนะโม 3 จบ เพื่อสักการะพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (กล่าว 3 ครั้ง)


- กล่าวบทสักการะพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

สุปฏิบันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ (กราบ)


- บทแผ่เมตตา (ให้ตนเอง)

อะหัง สุขิโต โหมิ

นิททุกโข โหมิ

อะเวโร โหมิ

อัพยาปัชโฌ โหมิ

อะนีโฆ โหมิ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ

(ความหมาย : ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข ปราศจากทุกข์ ปราศจากเวร ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง ปราศจากความทุกข์ทางกายทางใจ มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด)


- บทแผ่เมตตา (ให้ผู้อื่นและสัตว์โลก)

สัพเพ สัตตา

อเวรา โหนตุ จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ

อะนีฆา โหนตุ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ


- บทเสกหมอนเพื่อรู้ตัวก่อนมีภัย

"ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงการะณา ฆะเฏสิ อะหังปิ ตัง ชานามิ ชานามิ"

(บทสวดนี้เหมาะสำหรับคนที่หลับลึก และเดินทางค้างแรมแปลกที่นอน หลังสวดจบให้ตบหมอน 3 ครั้ง เชื่อว่าจะรู้สึกตัวตื่นก่อนมีภัย เช่น ขโมยขึ้นบ้าน)


พระคาถาเงินล้าน




(ตั้ง นะโม 3 จบ )

สัมปะจิตฉามิ นาสังสิโม
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน )
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันต ุเม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตภาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
วิระทาสี วิระทาสา วิระอิทถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ

( บูชา 9 จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด)


บทสวดพระบรมมหาจักรพรรดิ (แบบ แทรกคำอธิษฐาน)



ตั้งสัจจะอฐิษฐาน

 ลูกขอตั้งสัจจะอธิษฐานขอกราบขออาราธนาเมตตาบารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ท่านอันเป็นที่สุด ขอหลวงปู่ได้โปรดมีเมตตาอารธนาบารมีรวมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตั้งแต่องค์ปฐมจนถึงองค์ปัจจุบันบรมมหาจักรพรรดิทุกๆพระองค์ บารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระธรรมและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต บารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ท่านอันเป็นที่สุดบารมีรวมหลวงตาม้าเป็นต้น

 ขอบารมีหลวงปู่ได้โปรดเมตตาน้อมนำภพภูมิต่างๆทั้งหลายในทั่วทั้ง 3 แดนโลกธาตุอันประกอบไปด้วยเทพ 6 ชั้นพรหม 20 ชั้น เทพพรหมทุกชั้นฟ้ามหาสมุทรโดยทั่วทั้งแสนหมื่นโกฎิจักรวาล เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้าเทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าโดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคตท่านท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 พระยายมราชพร้อมบริวารโดยทั้งหมด พระศรีสยามเทวาธิราชโดยทุก ๆ พระองค์วีรบุรษและวีรสตรีทั้งหลายที่คอยปกป้องรักษาแผ่นดินสยาม โอปาติกะทั้งหลาย ฤาษีและดาบสทั้งหลายศาลเจ้าพ่อหลักเมืองทุกๆจังหวัด พระเสื้อเมือง พระทรงเมืองพระราหูวราหก เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย พญาครุฑพร้อมบริวาร

พญานาคพร้อมบริวาร คนธรรพ์ ชาวเมืองลับแล และสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้เคยไปอธิษฐานไว้ ขอหลวงปู่ได้โปรดเมตตาน้อมนำท่านทั้งหลายมาร่วมสวดบทพระมหาจักรพรรดิพร้อมกันเพื่อเพิ่มกำลัง



บทบูชาพระ

พุทธัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ ธัมมัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ สังฆัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ


กราบพระ 6 ครั้ง (กราบด้วยจิต)
พุทธัง วันทามิ (กราบ)   ธัมมัง วันทามิ (กราบ)
สังฆัง วันทามิ (กราบ)   ครูอุปัชฌาอาจาริยคุณัง วันทามิ (กราบ)
มาตาปิตุคุณัง วันทามิ (กราบ)   พระไตรสิกขาคุณัง วันทามิ (กราบ)


บทสมาทานศีล 5

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (กราบ 3 ครั้ง)

พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

ตติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ตติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

ตติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ


ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ

อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ

อพรัมจริยา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ

มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ

สุราเมรยะ มัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ

** อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาธิยามิ ** (3 ครั้ง)

สีเลนะ สุคติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา สีเลนะ นิพพุตติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโส ธะเย



บทอาราธนาพระ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (กราบ 3 ครั้ง)

พุทธัง อาราธนานัง กะโรมิ ธัมมัง อาราธนานัง กะโรมิ สังฆัง อาราธนานัง กะโรมิ



คาถาหลวงปู่ทวด : น้อมระลึกถึงปู่ทวดแล้วว่าคาถาดังนี้

นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติ ภะคะวา (3 ครั้ง)


คาถาหลวงปู่ดู่ : น้อมระลึกถึงปู่ดู่แล้วว่าคาถาดังนี้

นะโม โพธิสัตโต พรหม ปัญโญ (3 ครั้ง)



บทขอขมาพระรัตนตรัย

โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ



บทสวดมหาจักรพรรดิ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (กราบ 3 ครั้ง)

(สวดตามกำลังของแต่ละวัน อาทิตย์ 6 จันทร์ 15 อังคาร 8 พุธ 17 พฤหัส 19 ศุกร์ 21 เสาร์ 10)


นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ

มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา

พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ

พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา

อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวลี จะมหาเถรัง

อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย

อะหังวันทามิ สัพพะโส

พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ


ขอสิ่งที่ข้าพเจ้าอธิษฐาน จงศักดิ์สิทธิ์ สำเร็จเป็นจริงโดยฉับพลันทันใจทุกประการ

อิมัง สัจจะวานัง อธิษฐามิ พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ




การอธิษฐานรวมผู้เกี่ยวข้อง

ข้าพเจ้าขออธิษฐาน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับตัวข้าพเจ้า ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ผู้ที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ดู่ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ผู้ที่เคยอธิษฐานจิตที่ถ้ำนะ รวมถึง ผู้มีพระคุณและเทวดาประจำตัวข้าพเจ้า เจ้ากรรมนายเวรผู้ที่เคยอธิษฐานช่วย ชาติ ศาสนา ราชบัลลังก์ หมู่คณะ สัตว์ และมนุษย์ ผู้ที่ปรารถนาโพธิญาณ ขอบารมีหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ จงจุดประกายทั่วทั้ง ๓ โลกธาตุ แผ่บุญส่งวิญญานทั่วทั้ง 3 แดนโลกธาตุ ให้เหล่าเทพพรหมโอปาติกะทั้งหลายจงรับ

ขอบารมีหลวงปู่ช่วยน้อมนำให้เขาเหล่านั้นเข้ามาร่วมกัน เพื่อช่วยกันอธิษฐานช่วยชาติ ศาสนา และราชบัลลังก์ รวมถึงหมู่คณะด้วยเทอญ




เชิญพระเข้าตัว แผ่บุญปรับภพภูมิส่งวิญญาน

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง

อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส (5 จบ)


พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ (ให้อธิฐานจิตแผ่)


ต่อจากนั้นอธิษฐานแผ่เรื่องส่วนตัวเพื่อประโยชน์ได้

ตั้งจิตอธิษฐานขอสติปัญญา และให้คิดทำสิ่งใดให้สำเร็จทุกประการทั้งทางโลกและทางธรรม

(อธิษฐานเฉพาะเรื่อง.....อธิษฐานเรื่องที่เราต้องการอธิษฐานเป็นพิเศษ)


ขอสิ่งที่ข้าพเจ้าอธิษฐาน จงศักดิ์สิทธิ์ สำเร็จเป็นจริง โดยฉับพลันทันใจทุกประการ

อิมัง สัจจะวานัง อธิษฐามิ พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ


สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง

อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส (3 จบ)


พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ (ให้อธิฐานจิต)


อธิษฐานรวมบารมี ๑๐



 ข้าพเจ้าขอตั้งสัจอธิษฐานสิ่งที่ข้าพเจ้าอธิษฐาน ข้าพเจ้าอธิษฐานเพื่อชาติ ศาสนา ราชบัลลังก์หมู่คณะ สัตว์ และมนุษย์ทั้งหมดที่ยังเวียนว่ายตายเกิด สิ่งที่ข้าพเจ้าอธิษฐานนี้ ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีกำลังองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ์ถึงองค์ปัจจุบันบรมมหาจักรพรรดิ์ ขอบารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ บุญบารมีใดที่ข้าพเจ้าเคยสั่งสมอบรมมา เคยปฏิบัติมาจากอดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ไม่ว่าจะเป็น ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา



ข้าพเจ้าขอรวมบุญบารมีนี้ น้อมถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ์ จนถึงองค์ปัจจุบันบรมมหาจักรพรรดิ์ ถวายหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ขอถวายเป็นพุทธบูชา มหาเตชวันโต ธัมมะบูชา มหาปัญโญ สังฆะบูชา มหาโภควะโห ถวายแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์



 ขออาราธนาบารมีหลวงปู่ดู่ โปรดน้อมนำบารมีทั้งหมดทั้งมวลนี้ มายังข้าพเจ้าเป็นเท่าทวีคูณ เพื่อข้าพเจ้าจะได้นำมาเป็นกำลังในการช่วยชาติ ศาสนา ราชบัลลังก์ หมู่คณะ สัตว์ และมนุษย์ทั้งมวลตั้งจิตแผ่บุญให้กับผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวรทั้งที่บ้านและหมู่คณะ




เชิญพระเข้าตัว แผ่บุญปรับภพภูมิส่งวิญญานอธิษฐานจิต...



สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง

อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส (5 จบ)


พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ (ให้อธิฐานจิตแผ่)


กราบพระ 3 ครั้ง...น้อมระลึกถึงพระ



------------




(นั่งสมาธิภาวนาต่อตามความพอใจ)

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
เกิด: 17 เมษายน พ.ศ. 2331 (ค.ศ. 1788)
มรณภาพ: 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872)
อายุ: 84
บรรพชา: พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800)
อุปสมบท: พ.ศ. 2351 (ค.ศ. 1808)
พรรษา: 64
วัด: วัดระฆังโฆสิตาราม
ท้องที่: ธนบุรี
สังกัด: มหานิกาย
ตำแหน่งทางคณะสงฆ์: เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ภาษาอังกฤษ (Somdej Phra Buddhacarya 'Toh Brahmaramsi') (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระภิกษุมหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

คำสอน
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือนอกจากด้านคาถาอาคมแล้ว ท่านยังได้ดำรงตนเป็นผู้สมถะ มักน้อยสันโดษ ไม่ปรารถนาลาภยศ การแสดงออกของท่านตามบันทึกหลักฐานในสมัยหลัง มักบันทึกถึงความเป็นพระเถระผู้มีเมตตา ดำรงศีลาจารวัตรเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม เอกสารที่บันทึกประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ชั้นเก่าสุด คือเอกสารฉบับของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) ซึ่งเป็นฉบับที่รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ที่รวบรวมขึ้นในปี พ.ศ. 2473 ไม่ได้บันทึกคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ เพียงแต่กล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ต่างกรรมต่างวาระกัน ตามที่ผู้รวบรวมได้บันทึกมาจากปากคำผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เท่านั้น

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันได้ปรากฏมีคำสอนต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่เป็นที่นิยมนับถือกันทั่วไป โดยไม่มีการอ้างอิงที่มาที่แน่ชัด เช่น

“ บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า... ”

“ ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว...แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า...หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง...จงจำไว้นะ... เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้... ครั้นเมื่อถึงเวลา... ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า ”

คติธรรมคำสอน
“ บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า ...
ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว...แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง... จงจำไว้นะ... เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้... ครั้นเมื่อถึงเวลา... ทั้วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่... จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า ”

“ เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่ และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา
แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ”

อานิสงค์จากการสวดมนต์

อานิสงค์จากการสวดมนต์ / ผลจากการสวดมนต์


คำแนะนำก่อนเริ่มการสวดมนต์ก่อนนอน เราจะต้องทำสมาธิและจิตใจในแน่วแน่ จดจ่ออยู่กับบทสวดมนต์ ไม่เอาใจไปตามสิ่งรบกวนรอบข้าง หรือถ้าหากใครไม่สามารถทำได้ อาจลองสวดมนต์ช้าๆ เป็นจังหวะ ให้ระลึกถึงองค์พระพุทธ พระธรรม พระสงค์ หากการปฏิบัติสำเร็จและเป็นประจำสม่ำเสมอก็จะส่งผลดีต่อตัวเราเป็นอย่างมากในทุกด้าน เริ่มทำกันเสียตั้งแต่ตอนนี้เลย

1. สวดมนต์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นบุญที่ได้กล่าวคำศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ บทสวดพุทธมนต์นั้น มาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้าที่ได้ทรงสอนสั่งสาวกและมีการจำและท่องสืบกันมา จนถึงมีการจดบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ผู้ที่ได้มีโอกาสสวดมนต์ในชีวิต เป็นการเปล่งคำศักดิ์สิทธิ์ถวายเป็นพุทธเจ้า เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าและย่อมได้บุญกุศล

2. เกิดผลดีต่อร่างกาย คนที่สวดมนต์เป็นประจำนั้น ทางการแพทย์สมัยใหม่รับรองแล้วว่า การสวดมนต์ทำให้เกิดความสุขได้จริงในจิตใจ ส่งผลต่อร่างกายให้หลั่งสารความสุขออกมา ร่างกายก็จะแข็งแรง ใบหน้าสดใส ครูบาอาจารย์ในสมัยโบราณถึงปัจจุบันทราบถึงเคล็ดลับลับสำคัญ ให้สังเกตว่าท่านจะมีอายุยืนมาก และบรรพบุรุษของเรานั้น ท่านสวดมนต์เป็นประจำอายุท่านจึงยืนยาว ไม่เหมือนคนในปัจจุบันที่ห่างเหินการสวดมนต์มาก อายุจึงสั้น

3. เป็นการบำเพ็ญภาวนาอย่างหนึ่ง ทำให้มีสมาธิจิตใจ แจ่มใส การสวดมนต์เป็นการสร้างสมาธิวิธีการหนึ่ง เมื่อจิตที่มีสมาธิย่อมแจ่มใส มีกำลัง คิดอ่านแก้ไขปัญหาอะไรก็จะทำได้ง่ายเพราะมีสติกำกับอยู่

4. เป็นที่โปรดโปรนของเหล่าเทพเทวดาและดวงจิตวิญญาณทั้งปวง แม้ผู้ใดไม่ว่าจะเป็นพรหมเทพเทวดา สรรพสัตว์ทั้งหลาย ดวงจิตวิญญาณทั้งหลาย เมื่อได้ยินบทสวดนั้นจะพบกับความเย็นสบาย คลายทุกข์ ทำให้นิยมชมชอบคนที่สวดด้วย และเมื่อยินก็จะช่วยปกป้องรักษาคนที่สวด

5. เกิดบุญจากการแผ่เมตตา เมื่อสวดมนต์เสร็จสิ้น มีการแผ่เมตตาแก่ตนเองและเหล่าสรรพสัตว์ย่อมเกิดอานิสงส์บุญเกิดขึ้น

6. ได้รับพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คนที่สวดมนต์เป็นประจำนั้นย่อมได้รับการอวยพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสมอ เพราะเป็นผู้สร้างกรรมดีจากการสวดมนต์และแผ่เมตตา

7. สร้างสิริมงคลต่อตนเอง และครอบครัว ปัดเป่าภัยพิภัย โรคร้ายได้จริง ทุกบทสวดมนต์นั้นมาจากอักขระที่ศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจดลบันดาลให้สิ่งอัปมงคลนั้นออกไปจากชีวิต และสร้างสิริมงคลให้กับคนที่สวด ยิ่งสวดมากก็จะมีสิริมงคลมากขึ้น ทำอะไรก็สำเร็จโดยง่าย

8. สามารถแผ่บุญไปช่วยผู้อื่นที่เดือดร้อนได้ บทสวดมนต์ทุกบทนั้น สมารถแผ่บุญกุศลไปช่วยผู้อื่นที่เดือดร้อนได้ทุกเรื่อง ยิ่งเป็นสายเลือดเดียวกันจะยิ่งเร็วขึ้น เพราะมีทั้งบุญและกรรมผูกพันกันมา อานิสงส์ที่ดังที่กล่าวมาข้างต้นคงพอจะทำให้ทุกท่านเข้าใจ เรื่อง อานิสงส์ หรือ ประโยชน์ที่จะรับจากการสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ ตลอดจนการแผ่เมตตาเป็นอย่างดีแล้วอย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงประโยชน์เบื้องต้นเท่านั้นความจริงแล้วมีอานิสงส์ที่จะได้รับทางอ้อมทางลึกอีกมากมายกว่านี้นักแต่เป็น "ปัจจัตตัง" หรือรู้ได้เฉพาะตัวของแต่ละคนไป โปรดจำไว้เสมอว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นต้องปฏิบัติเองถึงจะได้

9. เป็นพื้นฐานไปสู่การก่อนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานชั้นสูงต่อไป เมื่อทุกท่านทราบถึงการที่จะต้องทำอย่างไรก่อนถึงจะเริ่มต้นการสวดมนต์ ที่ครบถ้วนทุกประการแล้ว ต่อไปนี้จะขอนำทุกท่านพบกับวิธีการสวดให้ชีวิตดี สวดให้สุข สวดให้รวย กันในลำดับต่อไป
บทสวดมนต์ก่อนนอนเป็นบทสวดที่ก่อให้เกิดอานิสงค์กับผู้ที่สวด ทำให้จิตใจสงบ นอนหลับง่าย ตื่นมาสดชื่นเบิกบาน ดังนั้นการสวดมนต์ก่อนนอนทุกๆ คืนเป็นประจำ เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกชนควรยึดถือปฏิบัติ

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก



ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา

อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ
อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สัมมาสัม พุทธัง สิระสา นะมามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
สุคะตัง สิระสา นะมามิ
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
ปุริสะ ทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทธัง สิระสา นะมามิ

อิติปิโส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิ ติปิ โส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยา นะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

กุสะลา ธัมมา อิติปิโส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ชมภูทีปัญจะอิสสะโร กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะ นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ
ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง อาปามะจุ ปะทีมะสัง อังขุ
สังวิธา ปุกะยะปะ อุปะสะชะ สุเหปาสายะ
โสโส สะสะ อะอะ อะอะ นิ เตชะสุ เนมะภู จะนาวิเว
อะสังวิสุโล ปุสะภุพะ อิ สวาสุ สุ สวาอิ กุสะลา ธัมมา จิตติลวิอัตถิ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สาโพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา

กุสะลา ธัมมา นันทะ วิวังโก
อิติ สัมมาพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา
อิติ วิชชา จะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู
มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา
พรหมมา สัททะ ปัญจะ สัตตะ สัตตา ปาระมี
อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุยะปะกะ
ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

นิมมานะระติ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ปะระนิมมิตะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

พรหมมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา
นัจจิ ปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะฯ

นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ
อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง
จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวา สาวัง มะหาเทวาสาวัง
อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง
สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง
อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา
อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ

สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง
ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง
สิริ รูปัง จะตุวีสะติเสนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขัน โธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา

นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญา ขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญา ขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญา ขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง

นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
ยาวะ ตัสสะ หาโย นะโม อุอะมะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุ อะมะ อาวันทา
นะโม พุทธายะ นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ
อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ ทุก ขัง อะนิจจัง อะนัตตา

(วิปัสสิต)
สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา วินาสสันตุ

บทสวดแผ่เมตตาต่างๆ




บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิด ฯ


คำอธิฐานอโหสิกรรม
ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม กรรมใดที่ทำแก่ผู้ใดในชาติใด ๆ ก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมและนายเวร จงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลยแม้แต่กรรมที่ใคร ๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้า ครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงษาคณาญาติและผู้อุปการะคุณของข้าพเจ้า มีความสุข ความเจริญปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี และสิ่งที่ชอบด้วยเทอญฯ


บทแผ่ส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า มีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า มีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ


กรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร
ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศล จากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ


คำอธิษฐานอโหสิกรรม
ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม กรรมใดที่ทำแก่ผู้ใด ในชาติใดๆก็ตาม
ขอให้เจ้ากรรมนายเวรจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย
แม้แต่กรรมที่ใคร ๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น
ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทานเพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป

ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้
ขอให้ข้าพเจ้า ครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงศาคณาญาติ และผู้อุปการคุณของข้าพเจ้า
มีความสุข ความเจริญ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี และสิ่งที่ชอบด้วยเทอญฯ

(อธิษฐานตามสิ่งที่ปรารถนา)

บทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา)




บทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา)



บูชาพระรัตนตรัย
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อภิปูชะยามิ 
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อภิปูชะยามิ 
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อภิปูชะยามิ

บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวาพุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

นมัสการพระรัตนตรัย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)

ขอขมาพระรัตนตรัย
วันทามิ พุทธัง, สัพพะ เมโทสัง, ขะมะถะเม ภันเต, 
วันทามิ ธัมมัง,สัพพะเมโทสัง, ขะมะถะเม ภันเต, 
วันทามิ สังฆัง, สัพพะ เมโทสัง, ขะมะถะเม ภันเต


ไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

พุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน
สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

ธรรมคุณ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ

สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
พุทธชัยมงคลคาถา คาถาพาหุง (ถวายพรพระ)
พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
มหาการุณิโก
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต
สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต